Thailand Fact Sheet:
ค่าครองชีพที่แท้จริง
เขียนโดย กอไผ่
หากเราลองให้คำนิยามเกี่ยวกับอัตราค่าครองชีพในปัจจุบันด้วยตัวของเราเอง
เราอาจพบว่าคำนิยามในเรื่องอัตราค่าครองชีพของเรามีความแตกต่างจากข้อมูลที่หน่วยงานภาครัฐทำการจัดเก็บ
เนื่องจากเราจะนำรายจ่ายทุกตัวมาทำการคำนวณ
ซึ่งผลลัพธ์อาจขัดแย้งกับอัตราค่าครองชีพที่เป็นอยู่โดยเฉลี่ยจากหน่วยงาน
และที่สำคัญรายจ่ายเหล่านั้นอาจไม่สัมพันธ์กับรายได้
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อย่อมส่งผลสอดคล้องไปกับอัตราค่าครองชีพ
เงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นย่อมหมายถึงค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการคิดคำนวณด้วยตนเองนั้นดูเหมือนว่าค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นมากในความเป็นจริง
(บางรายการหน่วยงานภาครัฐไม่ได้นำมาคำนวณ) ดังนั้นค่าครองชีพที่ว่านี้ก็จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คน
เนื่องจากค่าครองชีพต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งผู้บริโภคหรือลูกจ้างเป็นผู้แบกภาระรายจ่าย
ส่วนรายได้อาจมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย หรืออาจกล่าวไปในทิศทางตรงกันข้ามอีกนัยหนึ่งว่า
การใช้จ่ายในปัจจุบันฟุ่มเฟือยเกินจริง จะเป็นอย่างไรนั้น ก็คงต้องลองมาวิเคราะห์กันดู
สัญญาณเหล่านี้
อาจต้องลองคำนวณดูว่า ค่าครองชีพในปัจจุบันของเราเป็นอย่างไร โดยเริ่มต้นคำนวณว่าเมืองหรือจังหวัดที่เราอยู่อาศัยนั้นต้องใช้เงินค่าใช้จ่ายจำนวนเท่าใดสำหรับการอยู่อาศัย
เรามีรายรับเท่าใดต่อเดือน และนอกเหนือจากนี้เหลือเท่าใดสำหรับการเก็บและเงินออม
ตัวอย่างการแบ่งหมวดรายจ่าย
พื้นฐานในการคำนวณรายจ่าย
อาจเริ่มต้นด้วยการประมาณการ
รายจ่าย 1: ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
การรับประทานอาหาร 3 มื้อจะถูกนำมาคำนวณ (อาจแยกย่อยเป็นทานในบ้าน,
นอกบ้าน, ร้านอาหาร, พร้อมเครื่องดื่ม, น้ำชา กาแฟ เบียร์ และอื่น ๆ)
รายจ่าย 2: ค่าจ่ายตลาด,
ซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นการคำนวณในกรณีที่ต้องซื้อของจากตลาด หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตมาปรุงเป็นอาหาร
(ข้าวสาร น้ำมัน พืชผัก ผลไม้ นม ขนมปัง เครื่องปรุง และอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ที่สามารถประมาณการได้)
รายจ่าย 3: รายจ่ายสำหรับการเดินทาง
เนื่องจากแต่ละเมือง มีอัตราค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน รายจ่ายนี้จะเช่น การเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
ค่าแท็กซี่ ตั๋วรถไฟ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง ฯลฯ
รายจ่าย 4:
เป็นค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายรายเดือน เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา แก๊ส น้ำดื่ม
ค่าจัดเก็บขยะสาธารณะ ค่าอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ เคเบิลทีวี ฯลฯ
รายจ่าย 5:
ค่ากิจกรรมการกีฬาและบันเทิงอื่น ๆ เช่น การกิจกรรมฟิตเนส ค่าใช้สนามฟุตบอล แบดมินตัน
เทนนิส ดูภาพยนตร์ ละครต่าง ๆ
รายจ่าย 6: รายจ่ายแฟชั่นแต่งตัว
ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า การดูแลหน้าผม และแอคเซสเซอรี่ต่าง ๆ
รายจ่าย 7:
ค่าเช่าทรัพย์สินรายเดือน อาจเป็นค่าเช่าหอพัก ที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว หรือ ภาระต่าง
ๆ ที่ต้องผ่อนชำระเป็นรายเดือน ฯลฯ
รายจ่าย 8:
รายจ่ายอื่น ๆ เช่น ยารักษาโรค และรายจ่ายอื่น ๆ
ทั้งหมดนี้โดยรวม
จะนำมาทำการเปรียบเทียบกับรายรับทั้งหมด (รายได้จากเงินเดือน รายได้อื่น
รวมถึงเงินกู้ยืม) ก็จะทำให้เห็นถึงค่าครองชีพในปัจจุบันที่เราต้องเผชิญอยู่ในแต่ละเดือน
ซึ่งการคำนวณที่ว่านี้ เราสามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบว่ารายจ่ายที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ณ เมืองที่เราอยู่สามารถเทียบเท่ากับอยู่ในเมืองใดในโลก ก็จะเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น
จากบทสรุปของ
The Economist Intelligence Unit ที่ทำการสรุปเรื่อง Worldwide Cost of Living 2013 ได้สรุปเมืองที่มีค่าครองชีพที่สูงสุด
และต่ำสุดในโลก จาก 140 เมืองใน 93
ประเทศ ซึ่งทำให้เราตระหนักได้ถึงค่าครองชีพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หากเทียบกับระดับโลก
10 อันดับเมืองที่มีค่าครองชีพที่สูงที่สุดในโลกได้แก่ 1) Tokyo,
Japan 2) Osaka, Japan 3) Sydney,
Australia 4) Oslo, Norway 5) Melbourne, Australia 6) Singapore,
Singapore 7) Zurich, Switzerland 8) Paris, France 9) Caracas, Venezuela 10)
Geneva, Switzerland ซึ่งค่าดัชนีอันดับหนึ่งอย่าง Tokyo เป็น 1.52 เท่า ของ New York
ส่วน
10 เมืองที่มีค่าครองชีพต่ำสุด ได้แก่ 1)
Tehran, Iran 2) Jeddah, Saudi Arabia 3) Panama city, Panama 4) Colombo, Sri
Lanka 5) Bucharest, Romania 6) Algiers, Algeria 7) Kathmandu, Nepal 8) New
Delhi, India 9) Mumbai, India 10) Karachi, Pakistan ซึ่งค่าดัชนีอันดับต่ำสุดอย่างเมือง
Karachi เป็น 0.44 เท่าของ New
York
การจัดอันดับข้างต้นทำการเปรียบเทียบข้อมูลของแต่ละประเทศทั้งในเรื่องอาหาร
เครื่องดื่ม เสื้อผ้า การใช้จ่ายในครัวเรือน รายจ่ายส่วนตัว ค่าเช่า ค่าเดินทาง
บิลรายจ่ายส่วนตัวต่าง ๆ ค่าการศึกษา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ดังนั้น
เพื่อให้สะท้อนถึงอัตราค่าครองชีพที่แท้จริง คงต้องลองหันทำการสุ่มตัวอย่างทั้งค่าใช้จ่ายที่อยู่ในการควบคุมของภาครัฐ
ค่าใช้จ่ายที่กำหนดขึ้นโดยภาคเอกชน และอื่น ๆ
เพื่อให้สะท้อนถึงอัตราค่าครองชีพที่แท้จริง และมุมมองของการอยู่อาศัยที่แท้จริงของคนสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น