Drive your business

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Thailand Fact Sheet: Global Gender Gap patterns




Thailand Fact Sheet: Global Gender Gap patterns
                                                                                                                                        เขียนโดย กอไผ่

                ในปัจจุบันว่ากันว่า การเป็นผู้นำหญิง ไม่จำเป็นจะต้องแสดงภาวะผู้นำให้เหนือกว่าผู้ชาย เพียงแต่ แสดงให้เห็นถึงความต่างของความเป็นผู้นำ ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้แตกต่างกัน
                ความต่างในสมัยนี้ คือการที่เราได้เห็นว่า บนโต๊ะการเจรจา หรือการประชุม Conference ใดก็ตาม มีสัดส่วนของผู้หญิงอยู่ร่วมวงของการเจรจาเพิ่มมากขึ้น และเธอเหล่านั้นก็สามารถทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
ถึงแม้ เรายังไม่สามารถพูดไม่ได้อย่างเต็มปากหญิงเท่าเทียมกับชาย และบอกไม่ได้ว่าความเสมอภาคเท่าเทียมกันจะก้าวเข้ามาถึงในเร็ววันนี้ โดยเฉพาะสังคมที่ซับซ้อนและมีความแตกต่างกันในโลกใบนี้ แต่อย่างน้อยทิศทางของความเท่าเทียมก็ได้เริ่มก่อตัว และขยับเพิ่มสูงขึ้น ทั่วโลก
ยกตัวอย่างเช่นประเทศ Norway ที่กลายมาเป็นประเทศผู้นำด้านความเท่าเทียมระหว่างชายและหญิง ก็ได้สร้างคุณภาพที่ยิ่งใหญ่ให้กับเพศหญิง โดยการเพิ่มโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การเมือง และสุขภาพ ด้วยการจ่ายค่าตอบแทนในอัตราที่เท่าเทียมกัน เพิ่มอัตราการรู้หนังสือ การเป็นผู้แทนในรัฐสภา และอื่น ๆ ซึ่งทำให้ปัจจุบัน Norway มีศักยภาพในด้านนี้ไม่ต่างจาก Finland และ Sweden ที่เป็นผู้นำในระดับโลก
World Economic Forum เป็นองค์กรที่ทำการจัดอันดับความแตกต่างระหว่างชายและหญิงมาตั้งแต่ปี 2006 ก็ได้ทำการศึกษาและเปรียบเทียบถึงผลลัพธ์ของนานาประเทศทั่วโลก ที่ผ่านมาในปี 2012 ประเทศที่สร้างความเท่าเทียมมากที่สุดในโลก 9 อันดับยังคงเป็นเช่นเดียวกันกับปี 2011 (ยกเว้น Nicaragua) ซึ่งสิบอันดับนี้ก็คือ 1) Iceland 2) Finland 3) Norway 4) Sweden 5) Ireland 6) New Zealand 7) Denmark 8) Philippines 9) Nicaragua 10) Switzerland    
ความน่าสนใจอยู่ตรงที่อันดับของ Nicaragua ได้ขยับตัวอย่างรวดเร็วจากอันดับที่ 27 ในปี 2011 มาเป็นอันดับที่ 9 ในปี 2012 ซึ่งประเทศนี้อยู่ในกลุ่ม Lain American and the Caribbean การขยับตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลอันเนื่องมาจากความสามารถในการเพิ่มอัตราส่วน การมีส่วนร่วมทางด้านการเมืองจากการเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในรัฐสภา จาก 21% เป็น 40% และการเพิ่มขึ้นของผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี จาก 38% เป็น 46% เป็นต้น    
ในกลุ่ม Asia and the Pacific นิวซีแลนด์(Rank 6) กลายเป็นผู้นำในเรื่องของความเท่าเทียม ตามด้วย ฟิลิปปินส์ (Rank 8)  ออสเตรเลีย (Rank 25)  ศรีลังกา (Rank 39)  มองโกเลีย (Rank 44)  สิงคโปร์(Rank 55) ไทย (Rank 65) เวียดนาม (Rank 66) ติมอร์-เลสเต (Rank 68) จีน (Rank 69) เป็นต้น 
สำหรับประเทศไทย เราสูญเสียห้าอันดับ ซึ่งถดถอยลงจากปีก่อน เป็นผลอันเนื่องมาจากการลดลงของความไม่เท่าเทียมกันในอัตราค่าจ้างและสัดส่วนรายได้ที่ประมาณการไว้ ส่วนประเทศที่อันดับรองจากเราคือ เวียดนาม มีการปรับอันดับเพิ่มขึ้นถึง 13 อันดับอย่างน่าตกใจ อันเนื่องมาจากการให้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นทางด้านการศึกษาของสังคมเวียดนาม จึงเพิ่มสัดส่วนโอกาสทางด้านการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีสัดส่วนของการเป็นรัฐมนตรีหญิงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาคุณภาพที่เพิ่มขึ้นของเวียดนาม
อย่างไรก็ตามหากเราทำการเปรียบเทียบระหว่างไทยกับเวียดนาม ในมุมมอง 4 ด้านแล้ว
1) ด้านการมีส่วนร่วมและโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ เราอยู่ในอับดับที่ 49 เวียดนามอยู่อันดับ 44
2) ด้านการศึกษา ไทยอยู่อันดับ 78 เวียดนามอยู่อันดับ 95
3) ด้านสุขภาพ ไทยอยู่อันดับ 1 เวียดนามอยู่อันดับ 130
4) ด้านการเมือง ไทยอยู่อันดับ 93 เวียดนามอยู่อันดับ 78
ถึงแม้ว่า อันดับที่วัดออกมาในเชิงตัวเลขของไทยเรามีแนวโน้มถดถอย แต่ในภาพรวมในบางด้านเรายังรักษาระดับความเข้มแข็งไว้ได้
ทางเลือก และการพัฒนาในมุมมองที่แตกต่าง กับการเดินย่ำอยู่กับที่ หรือถดถอย หรือจะก้าวต่อไป คงต้องอาศัยความเป็นผู้นำ ซึ่งเรายังคงเชื่อว่า ความสามารถของผู้นำระหว่างชายและหญิง คงไม่แตกต่างกัน และเป้าหมายที่ชัดเจนนั้น คือการที่สังคมโลกมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น