Drive your business

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Thailand Fact Sheet: เศรษฐกิจการค้าชายแดน




 Thailand Fact Sheet: เศรษฐกิจการค้าชายแดน
                                                                                                                                       เขียนโดย กอไผ่


                การเติบโตของเศรษฐกิจการค้าชายแดน ระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน นับวันก็ยิ่งเป็นโอกาสที่ไทยเองจะต้องคว้าเอาไว้ก่อน เพราะด้วยความคึกคักทางการค้าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศลาว ก็ได้ทำการปฏิรูปเศรษฐกิจ เร่งพัฒนาสาธารณูปโภค ต่าง ๆ และมีแนวโน้ม GDP เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสทางด้านเศรษฐกิจของไทย













                จากการสรุปสถิติการค้าชายแดน ของกรมการค้าต่างประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม ไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย, เมียนมาร์, สปป.ลาว, กัมพูชา) เรามีมูลค่ารวมลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอยู่ประมาณร้อยละ 0.54 (มูลค่ารวม ม.ค.-ส.ค. 606,551 ล้านบาท ซึ่งเราทำการค้ากับมาเลเซียมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.59 ของมูลค่ารวม รองลงมาเป็นเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ในสัดส่วน 20.82%, 14.41% และ 10.18% ตามลำดับ
                ภาพรวมสำหรับการส่งออกและนำเข้าทุกประเทศ ทำให้เรามีดุลการค้าแบบเกินดุล มูลค่ารวมทั้งสิ้น 130,070 ล้านบาท ซึ่งเกินดุลการค้ากับ สปป.ลาว 56,653 ล้านบาท กัมพูชา 49,765 ล้านบาท มาเลเซีย 46,813 ล้านบาท ส่วนเมียนมาร์เราขาดดุลการค้ามูลค่า 23,161 ล้านบาท

                สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย
                การค้าระหว่างไทยและมาเลเซีย มีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ไม้แปรรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าส่งออกผ่านจังหวัดสงขลามากที่สุดในสัดส่วนร้อยละ 98.06 ยะลาร้อยละ 1.48 นราธิวาสร้อยละ 0.36 สตูลร้อยละ 0.03 เป็นต้น
                การค้าระหว่างไทยและเมียนมาร์ มีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล เบนซิน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ ผ้าผืนและด้าย สินค้าส่งออกผ่านจังหวัดตากมากที่สุด (ร้อยละ 52.76) รองลงมาเป็นระนอง ร้อยละ 27.45 เชียงราย ร้อยละ 17.14 กาญจนบุรี ร้อยละ 2.26 แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 0.22 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 0.16 เป็นต้น
                การค้าระหว่างไทยและ สปป.ลาว มีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล เบนซินรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ สินค้าส่งออกผ่านจังหวัดหนองคายมากที่สุด ร้อยละ 51.26 รองลงมาเป็นอุบลราชธานี ร้อยละ 12.11 มุกดาหาร ร้อยละ 11.05 เชียงราย ร้อยละ 9.91 เลย ร้อยละ 8.59 น่าน ร้อยละ 3.81 นครพนม ร้อยละ 2.21 บึงกาฬ ร้อยละ 1.06 เป็นต้น
                ส่วนการค้าระหว่างไทยและกัมพูชา มีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์และมีแอลกอฮอล์ เครื่องสำอาง เครื่องหอมและสบู่ ยานพาหนะ สินค้าส่งออกผ่านจังหวัดสระแก้วมากที่สุด ร้อยละ 60.27 รองลงมาเป็นตราด ร้อยละ 30.96 จันทบุรี ร้อยละ 5.85 สุรินทร์ ร้อยละ 2.29 อุบลราชธานี ร้อยละ 0.63 เป็นต้น
                อย่างไรก็ตาม ถึงแม้โดยรวมมูลค่าการค้าระหว่างไทยและเพื่อนบ้านมีแนวโน้มลดลงในช่วงนี้ แต่การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สัมพันธ์ไปกับความร่วมมือของเศรษฐกิจอาเซียน ที่จะมีการส่งเสริมการค้าเสรี การลงทุน ข้อตกลงทางด้านการท่องเที่ยว และความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจของไทย การเตรียมตัวกับสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการควรจะใช้โอกาสนี้ในการเร่งปรับตัว ลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน เพื่อให้เกิดประโยชน์ และสร้างโอกาสในการแข่งขันให้มากที่สุด
                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น