Thailand Fact Sheet:
Digital Content Marketing
เขียนโดย กอไผ่
ในโลกที่ทรงพลังด้วยสื่อดิจิตอลทั้งหลาย
ทุกวันนี้ คงละสายตาไม่ได้ในกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดที่สามารถสร้างมูลค่าได้อย่างรวดเร็วและมหาศาล
“Content Marketing”
ในปัจจุบันจึงไม่ใช่แค่เพียงข้อความทางการตลาดที่สื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หรือผู้ที่ต้องการจะมาเป็นลูกค้ารายใหม่
หรือผู้ที่สนใจ เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างความจงรักภักดีในการติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหว
ในเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
Content Marketing
จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เราสามารถแบ่งปันในหัวข้อต่าง ๆ
ไปสู่สมาชิก และเป็นสาธารณะได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันมีรูปแบบที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็น ข่าว วีดีโอ ไกท์บุ๊ค อีบุ๊ค รูปภาพ คำถามและคำตอบในบทความ
หรือกรณีศึกษาต่าง ๆ และ Content ที่เรารู้จักกันในรูปแบบของ
Social Media, Search Engine ทั้งหลาย
เราจะเห็นได้ว่า Content หรือ เนื้อหา/ข้อความ ที่เราสนใจนั้น
จะเป็นรูปแบบทางการตลาดที่สามารถทำให้ผู้บริโภคเจาะลึกลงไปในข้อมูลที่พวกเขาต้องการ
และสามารถจดจำสิ่งเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากนักการตลาดสามารถพัฒนาสื่อ Content ได้อย่างน่าสนใจ และผูกมัดใจลูกค้า ซึ่งการผูกมัดใจไว้นั้นอาจมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน
อาทิเช่น จดจำตราสินค้า จงรักภักดีต่อตราสินค้า สร้างลูกค้ารายใหม่ ให้มีปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมในหน้าเว็บไซต์
สร้างยอดขายให้กับธุรกิจ หรือ เป็นธุรกิจ/สินค้าที่ลูกค้านึกถึงก่อน
เป็นธุรกิจ/สินค้าที่นึกถึงในเชิงการใช้บริการที่มีคุณภาพ
เหล่านี้เป็นต้น
กลยุทธ์คอนเทนท์ (Content
Strategy) ในยุคดิจิตอล จึงเกี่ยวข้องกับการวางแผน การพัฒนา และการจัดการเนื้อหาที่ได้ถูกเขียนลงไปในสื่อชนิดต่าง
ๆ ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนได้แก่ ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ซึ่งสื่อจะต้องมีปรับ/เปลี่ยนแปลงอย่างมากในการนำเสนอข่าวสาร
สื่อแขนงต่าง ๆ ได้มีการปรับตัวเองให้อยู่ในยุคดิจิตอล ด้วยการสร้างเว็บไซต์ นำเสนอข่าวสารที่สามารถอ่านได้ง่าย
รวดเร็ว และใช้เวลาไม่นานในการอ่าน นอกจากนี้ ข่าวสารแบบฟรี ๆ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ
ที่เชื่อมโยงธุรกิจไปยังลูกค้า
การปรับตัวสู่โลกดิจิตอล จึงสามารถสร้างมูลค่าได้ Digital
Content จึงเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ
ในตลาดการค้าที่เป็นแบบสาธารณะ
ฉะนั้น ความพร้อมในการจ่ายเงินของลูกค้า จะเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาต้องการสินค้า
ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทันที ธุรกิจจึงต้องมองหาวิธีการที่เป็นช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึง
Content ต่าง ๆ ได้โดยง่าย
อาทิเช่น การส่งต่อข้อมูล/บอกข้อมูลต่อปากต่อปาก
การบอกต่อกันเป็นภายภายองค์กร การใช้ช่องทาง Search engine
ใช้สื่อแมกกาซีนหรือเว็บไซท์ ใช้การออกงาน
Tradeshow จ้างเอเจนซี่โฆษณา ส่งข้อมูลผ่านทางอีเมล์ จ้างที่ปรึกษา หรือจ้างบริษัทค้นหาแบบออนไลน์
และอื่น ๆ
Pinterest
เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Content ซึ่งสมาชิกสามารถอัพโหลดรูปภาพ
ของสะสม สิ่งของทุกสิ่งอย่าง บทความ หรือไอเดียการท่องเที่ยวต่าง ๆ ลงไปใน
Pinboard หากเรามีภาพสินค้า หรือมีภาพกิจกรรมที่น่าสนใจ และแบ่งปันภาพนั้นใน
Pinterest โอกาสที่สมาชิกจะสนใจ และตัดสินใจซื้อสินค้า
ก็เกิดขึ้นได้ และที่สำคัญหากเราลองเปรียบเทียบจากสถิติที่ผ่านมา
ระหว่างการซื้อสินค้าจาก Pinterest กับ Facebook ด้วยแล้ว เราจะพบว่าลูกค้า Pinterest
มียอดใช้จ่ายต่อสมาชิกมากกว่าของ Facebook ถึงสองเท่า มีอัตราต่อยอดซื้อสินค้าที่มากกว่า
Facebook และสามารถเพิ่มจำนวนผู้เข้าเว็บไซต์รายใหม่ได้ดีกว่า
หากเราลองมาพิจารณาความสามารถในการจัดการ Digital Content
ออกไปในมุมมองทางสังคมบ้าง ในแง่ของการส่งเสริมการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต การอยู่อาศัย ภูมิปัญญา ต้นไม้ ชายหาด ทะเล หรือแง่มุมที่น่าสนใจของสังคมไทย
Digital Content จะมีบทบาทเป็นอย่างมาก
ที่สามารถเชื่อมโยงแบ่งปันระหว่างคนในสังคม และผู้คนจากมุมต่าง ๆ ทั่วโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น