การจำลองรูปแบบความคิดของมนุษย์ในแต่ละวัน
ที่มีความคิดในเรื่องต่าง ๆ อยู่สารพัดมากมาย ออกมาเป็นภาพจำลองอย่าง Mind
Map ได้ นับว่าเป็นเทคนิคที่สร้างสรรค์ และทรงพลัง
โดยเฉพาะหากเรานำเทคนิคนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ก็จะสามารถกลั่นกรองความคิดออกมาเป็นแก่นสาร พร้อมกับกิ่งก้าน
ที่แตกแขนงออกมาให้เห็นภาพของการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
สำหรับการใช้ชีวิตของคนเรา
โดยเฉพาะในวัยแห่งการเรียนรู้ หากนำแผนที่ความคิด
มาช่วยส่งเสริมกันให้เกิดประโยชน์ ก็จะพบถึงความเชื่อมโยงของความคิดที่มีคุณภาพ
โดยเฉพาะความคิดที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ โดยที่ผู้เรียนเองสามารถเป็นศูนย์กลาง
ซึ่งจะเห็นความยืดหยุ่นของความคิด ทั้งที่ตีกรอบไว้ และไม่ได้ตีกรอบ
ครู และอาจารย์
กับการออกแบบการเรียนรู้อย่างเหมาะสม จึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็ก
ไทยมีการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ซึ่งในปัจจุบันการปฏิรูปองค์ความรู้ต่าง ๆ
ก็ได้เกิดขึ้น รวมถึงการบูรณาการองค์ความรู้เดิมกับองค์ความรู้ใหม่ ในสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป
การผสมผสานสิ่งเหล่านี้ จึงเป็นประสบการณ์มากมาย ที่สามารถถ่ายทอดให้กับเด็ก
ๆ โดยผู้ถ่ายทอดจะต้องทำความเข้าใจ ใช้ประสบการณ์ และประเมินถึงผลลัพธ์ได้อย่างเหมาะสม
Theme ของความรู้ในปัจจุบัน
จึงไม่ใช่เพียงความรู้จากหลักสูตรการศึกษาเท่านั้น แต่เป็นความรู้เพื่อการใช้ชีวิต
ซึ่งสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ตั้งแต่วัยเด็กและเริ่มปฏิบัติตั้งแต่ยังเล็ก
Mind Map จึงเป็นเครื่องมือหรือแผนการเราสามารถเริ่มต้นวาดเส้นทางไปสู่จุดหมาย
การแตกแขนงของกิ่งก้านพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต จึงสามารถทำได้อย่างเป็นอิสระ
ผู้ปกครอง จึงมีบทบาทอย่างมากที่จะมีส่วนร่วมในการเริ่มต้น
และจัดการสิ่งต่าง ๆ เรียกได้ในวัยเด็กเล็ก แทบจะ 24 ชั่วโมงเลยก็ว่าได้ และเมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น สถาบันการศึกษาก็จะเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในลำดับถัดไป
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการจัดสรรเวลา
กิจกรรมการเรียนรู้ แนวคิด ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงประสบการณ์
ที่สามารถต่อยอดให้กับเด็ก ๆ เรื่องอาหาร น้ำ อากาศ พลังงาน ปัจจัยในการดำรงชีวิต
ความแข็งแรง ความปลอดภัย ความรู้ตามหลักสูตรการศึกษา ความรู้นอกห้องเรียน
จินตนาการ ศิลปะ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี วิถีชีวิต หรือการใช้จ่าย ฯลฯ ล้วนเป็นองค์ความรู้นำไปสู่ภาคปฏิบัติทั้งสิ้น
ผู้ปกครองสมัยใหม่ จึงมีบทบาทเป็นอย่างมาก
การทำความเข้าใจ และออกแบบการเรียนรู้ให้กับลูก ๆ ไว้ล่วงหน้า ในเรื่อง “กิน อยู่
และการใช้ชีวิต” จึงเป็นการบ่มเพาะทักษะชีวิต (Live
Skills ให้สะสมไว้ในตัวเด็ก ๆ ทุกคน)
อย่างไรก็ตามสำหรับการวาดฝันในระดับชาติ
ก็มีตัวอย่างที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นของสหรัฐอเมริกา โดย The Foundation for Child Development
ที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเด็กทั้งในเรื่องการเรียนรู้ จากตนเอง จากครอบครัว และจากสังคม
ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็กในอนาคต โดยได้เน้นด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตสำหรับเด็ก
ปัจจัยที่สำคัญเหล่านี้ ได้แก่
· เศรษฐกิจที่ดีของครอบครัว
· ความปลอดภัย/ความเสี่ยง ของพฤติกรรม
· การมีการศึกษาที่ดี
· การมีสุขภาพดี
· การมีมนุษยสัมพันธ์ทางด้านสังคมที่ดี
· การมีภาวะทางด้านอารมณ์ที่ดี และการมีจิตวิญญาณหรือมี Spirit ที่ดี
· การมีส่วนร่วมในสังคมที่ดี
ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นปัจจัยสำคัญในระดับชาติ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตทุกชีวิต เกี่ยวข้องกับผู้คนในสังคมทุกคน
การเรียนรู้ที่แตกกิ่งก้านในการทักษะชีวิตที่ดีด้านต่าง ๆ จึงมีความสำคัญอย่างมาก เป้าหมายก็เพื่อให้ผู้คนมีหลักและแก่นสาร
อยู่บนเส้นทางที่ดีในสังคมร่วมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น